#Social Engineering - Albatross CyberSec - Page 3

  • Home
  • Tag: #Social Engineering
admin March 19, 2022 0 Comments

Multi-Factor Authentication วิธีการที่ผู้นำด้านความปลอดภัยใช้เพื่อปกป้องข้อมูลมูลอ่อนไหว ผลการการวิจัยแสดงให้เห็นว่ามีข้อมูลการเข้าสู่ระบบจากอาชญากรไซเบอร์มากกว่า 15 พันล้านรายการบน Dark Web โดยอาชญากรมักใช้เพื่อขโมยข้อมูลที่อ่อนไหวจากองค์กรด้วยการรั่วไหลของข้อมูลและการขโมยข้อมูลในปริมาณมาก ทำให้องค์กรจำเป็นต้องดำเนินการด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อป้องกันการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต Multi-Factor Authentication คืออะไรและทำงานอย่างไร?คือการตรวจสอบสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลแบบหลายปัจจัยและเป็นเทคนิคการพิสูจน์ตัวตนที่ผู้ใช้ต้องแสดงปัจจัยการตรวจสอบยืนยันสิทธิ์สองปัจจัยขึ้นไปเพื่อยืนยันตัวตนก่อนที่จะเข้าถึงบัญชีหรือแอปพลิเคชันออนไลน์ โดยเปลี่ยนรูปแบบการขอเข้าถึงสิทธิ์จากเมื่อก่อนจะใช้เพียงชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน แต่ตอนนี้ควรพิ่มเติม เช่น รหัสผ่านแบบใช้ครั้งเดียวแล้วเปลี่ยน หรือการเข้ารหัส หรือลายนิ้วมือปัจจัยการรับรองความถูกต้องมี 3 ประเภทที่สามารถตรวจสอบผู้ใช้ได้สิ่งที่คุณรู้ (Something you know) – ข้อมูลที่ผู้ใช้รู้ เช่น รหัสผ่านหรือหมายเลขพินสิ่งที่คุณมี (Something you have)– สิ่งที่ผู้ใช้เท่านั้นมี เช่น สมาร์ทโฟนหรืออุปกรณ์การเข้ารหัสสิ่งที่คุณเป็น (Something you are)–

admin March 19, 2022 0 Comments

7 วิธีในการปกป้องข้อมูลของคุณจากอาชญากรไซเบอร์และ Dark Web อย่าเปิดเผยรหัสผ่านชื่อผู้ใช้ของคุณกับเพื่อนร่วมงาน เพื่อน สมาชิกในครอบครัว หรือแม้แต่แผนกไอที หากคุณให้ข้อมูลนี้โดยไม่ได้ตั้งใจ ให้เปลี่ยนรหัสผ่านทันทีสร้างรหัสผ่านที่ไม่ซ้ำและปลอดภัย การสร้างรหัสผ่านควรใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็ก ตัวเลข และสัญลักษณ์อื่นรวมกันอย่างน้อย 8 ตัว และอย่าใช้ชื่อ คำ หรือวลีที่คุ้นเคยในรหัสผ่านของคุณระวังภัยคุกคามทางไซเบอร์ในอีเมลของคุณที่อาจมาได้ในทุกวัน ผู้ใช้ควรดูอย่างรอบครอบหรือพิสูจน์ความน่าเชื่อถือนั้นอย่าคลิกลิงก์ ดาวน์โหลดไฟล์แนบ หรือตอบกลับอีเมลของข้อความที่ไม่น่าไว้วางใจ หากคุณต้องเยี่ยมชมเว็บไซต์ควรเข้าไปที่เบราเซอร์และป้อน URL หรือใช้รายการโปรด/บุ๊กมาร์กเพื่อเข้าถึงเว็บไซต์อย่าเปิดใช้งานการจัดเก็บชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านของบัญชีในเบราว์เซอร์ เพราะจะทำให้อาชญากรสามารถเข้าถึงบัญชีออนไลน์ทั้งหมดของคุณได้อย่างง่ายดาย เมื่อมีข้อสงสัยหรือมีถามคำถาม จากอีเมลที่ขอให้คุณโอนเงิน แชร์เอกสาร หรือยืนยันรายละเอียดบัญชี โปรดติดต่อบุคคลนั้นโดยตรงและแจ้งเตือนแผนกไอทีรู้สัญญาณของอาชญากรไซเบอร์ที่ส่งอีเมล ข้อความ และข้อความเสียง เพื่อกระตุ้นให้คุณดำเนินการอย่างรวดเร็ว โดยอาชญากรอาจอ้างว่าข้อมูลของคุณถูกขโมยคุณควรเพิกเฉยต่อสิ่งที่เกิดขึ้นเพื่อป้องกันการตกเป็นเหยื่อAlbatross มีทีมผู้เชี่ยวชาญ หรือที่ปรึกษา ที่พร้อมจะให้บริการสร้างความตระหนักแบบครบวงจร เช่น วางแผนการรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ ฝึกอบรมสร้างความตระหนักด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ จำลองการโจมตีในรูปแบบต่างๆ เช่น

admin March 19, 2022 0 Comments

Dark Web คืออะไร และวิธีการเรียนรู้วิธีรักษาข้อมูลและตัวตนของคุณให้ปลอดภัย ข้อมูลต่างๆ เช่น สถานที่ทำงาน รหัสผ่าน ข้อมูลบัญชีอีเมลส่วนตัว ข้อมูลบัตรเครดิต รายละเอียดการเข้าสู่ระบบสำหรับเว็บไซต์ช้อปปิ้งออนไลน์ แม้กระทั่งข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆ นั้นถือเป็นเป็นสินค้าที่มีค่าในดาร์กเว็บโดยอาชญากรไซเบอร์สามารถหารายได้ได้จากข้อมูลที่ขโมยไปโดยจะเสนอขายให้กับซื้อผู้ที่ให้ราคาสูงสุด ผลกระทบที่เกิดขึ้น เช่น เมื่อองค์กรถูกแฮ็กโดยอีเมล Phishing จะส่งผลทางการเงินในการกู้คืนเซิร์ฟเวอร์ และที่สำคัญจะส่งผลต่อความไว้วางใจจากสาธารณะ และลูกค้าเป็นอย่างมาก ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดในการปกป้องข้อมูล คือการรับรู้เรืองความปลอดภัย และปฏิบัติตามแนวทางที่ดีเพื่อรักษาความปลอดภัยของข้อมูลDark Web คืออะไรDark Web เป็นพื้นที่หนึ่งบนอินเทอร์เน็ตที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ด้วยการค้นหาของ Google หรือ Bing ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ตลาดสำหรับกิจกรรมต่างๆ หรือการค้าขายสินค้าที่ที่ผิดกฎหมาย รากฐานของ Dark Web การละเมิดข้อมูล และผลกำไรของอาชญากรDark Web เกิดขึ้นมาตั้งแต่ยุคแรก

admin March 19, 2022 0 Comments

7 วิธีในการป้องกันตัวเองจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ในวัน Black Friday (เทศกาลลดราคา) Black Friday เป็นโอกาสดีของผู้บริโภคในการได้รับข้อเสนอดีๆ และซื้อของลดราคาแต่ก็เป็นโอกาสของอาชญากรไซเบอร์ในการคิดค้นกลโกงใหม่ๆ เช่นกัน จากผลการวิจัยพบว่ามีการฉ้อโกงด้วยการชำระเงินออนไลน์เพิ่มขึ้น 208% ระหว่างเดือนกันยายนถึงตุลาคม 2564และเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่เราจะต้องทบทวนแนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัยเพื่อให้คุณซื้อสินค้าได้อย่างปลอดภัยและไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ ระวังอีเมล Phishingซึ่งเป็นหนึ่งในภัยคุกคามที่แพร่หลายมากที่สุดโดยมุ่งเป้าไปที่ผู้บริโภคโดยเฉพาะในช่วงวันหยุดยาว หรือในช่วงเทศกาล โดยอาชญากรไซเบอร์จะปลอมอีเมลแอบอ้างเป็นสินค้าแบรนด์ยอดนิยมและลอกให้ผู้ใช้คลิกไฟล์แนบของมัลแวร์หรือลิงก์ไปยังเว็บไซต์ Phishing โดยวิธีที่ดีที่สุดคืออย่าคลิกลิงก์หรือไฟล์แนบในอีเมลจากผู้ส่งที่ไม่รู้จัก  ตั้งค่าสิทธิ์ยืนยันสิทธิ์การเข้าถึงแบบหลายปัจจัย ( Multi-factor) ในบัญชีออนไลน์ของคุณคุณควรตั้งค่าการตรวจสอบสิทธิ์การเข้าถึงแบบหลายปัจจัย (MFA) หรือการตั้งค่าระบบเพื่อเข้าสู่เพื่อรับรองความถูกต้อง โดยให้รหัสผ่านและรหัสที่ส่งไปยังอีเมลส่วนตัวหรืออุปกรณ์มือถือของคุณ หลีกเลี่ยงการใช้ Wi-Fi สาธารณะคุณควรหลีกเลี่ยง Wi-Fi สาธารณะเพราะคุณอาจจะถูกโจมตีจากอาชญากรทางไซเบอร์หรือแฮกเกอร์ที่สามารถดักจับข้อมูลส่วนตัวของคุณได้ นอกจากนี้สิ่งสำคัญคือการหลีกเลี่ยงการซื้อของออนไลน์และแชร์ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณบน Wi-Fi สาธารณะ หากคุณต้องใช้ Wi-Fi

admin March 19, 2022 0 Comments

9 รูปแบบภัยคุกคาม Social Engineering วิศวกรรมสังคมเป็นเทคนิคทั่วไปที่อาชญากรไซเบอร์ใช้เพื่อหลอกลวงบุคคลให้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลองค์กรที่มีความอ่อนไหว ด้วยการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติของมนุษย์ขั้นพื้นฐาน เช่น ความเต็มใจหรือความปรารถนาที่จะไว้วางใจผู้อื่น โดยวิศวกรรมทางสังคมได้กลายส่วนสำคัญต่อการโจมตีแบบ Phishing หลายประเภทรวมถึงภัยคุกคามทางไซเบอร์อื่นๆ9 ตัวอย่างของวิศวกรรมสังคมที่พบบ่อยที่สุด Phishing  กลวิธีการถึงอีเมล เว็บไซต์ และข้อความหลอกลวงเพื่อขโมยข้อมูลSpear Phishing การใช้อีเมลเพื่อโจมตีบุคคลหรือธุรกิจแบบกำหนดเป้าหมายBaiting  การโจมตีทางวิศวกรรมสังคมออนไลน์ที่ให้การสัญญาว่าจะให้รางวัลแก่เหยื่อหากทำตามคำสั่งMalware เหยื่อจะถูกมิจฉาชีพหลอกให้เชื่อว่ามีการติดตั้ง Malware ในคอมพิวเตอร์ของตน เพื่อให้เหยื่อชำระเงินหากต้องการลบออกการอ้างสิทธิ์  ใช้ข้อมูลประจำตัวที่เป็นเท็จเพื่อหลอกล่อเหยื่อให้แจ้งข้อมูลส่วนบุคคลุQuid Pro Quo  มิจฉาชีพจะอาศัยการแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือบริการเพื่อโน้มน้าวให้เหยื่อกระทำการTailgating ,มิจฉาชีพจะอาศัยความไว้วางใจของมนุษย์เพื่อให้อาชญากรสามารถเข้าถึงอาคารหรือพื้นที่ที่ปลอดภัยได้Vishing หรือข้อความเสียงเร่งด่วนที่โน้มน้าวให้ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อต้องดำเนินการอย่างรวดเร็วเพื่อป้องกันตนเองจากการถูกจับกุมหรือความเสี่ยงอื่นๆWater-Holing  การโจมตีทางวิศวกรรมสังคมขั้นสูงที่ใช้ช่องว่างในระบบติดมัลแวร์ทั้งในเว็บไซต์และผู้เยี่ยมชม ตัวอย่างการโจมตีวิศวกรรมสังคมอาชญากรไซเบอร์ที่เก่งจะรู้ว่าวิศวกรรมสังคมทำงานได้ดีเมื่อใช้ประโยชน์จากอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ซึ่งง่ายกว่าการแฮ็กเครือข่ายหรือมองหาช่องโหว่ด้านความปลอดภัย ตัวอย่างของวิศวกรรมสังคมที่ทำให้เห็นว่าอารมณ์ถูกใช้เพื่อโจมตีทางไซเบอร์ความกลัวอาชญากรทางไซเบอร์จะใช้อารมณ์ความกลัวเพื่อหลอกล่อให้ผู้คนปฏิบัติตามข้อความเสียง เช่น การรับข้อความเสียงที่ระบุว่าคุณกำลังถูกสอบสวนเรื่องการฉ้อโกงภาษี ทำให้คุณต้องโทรติดต่อทันทีเพื่อป้องกันการจับกุมและการสอบสวนทางอาญา ซึ่งจะทำให้คุณตกเป็นเหลื่ออย่างไม่คาดคิดความโลภอาชญากรไซเบอร์ใช้ความรู้สึกไว้วางใจและความโลภของมนุษย์ขั้นพื้นฐานเพื่อโน้มน้าวเหยื่อว่าพวกเขาสามารถได้รับบางสิ่งบางอย่างที่ไม่เป็นความจริง เช่น การหลอกเหยื่อด้วยการให้แจ้งข้อมูลบัญชีธนาคาร เพื่อที่จะโอนเงินความอยากรู้อาชญากรไซเบอร์ให้ความสนใจกับเหตุการณ์ที่มีการรายงานข่าวจำนวนมาก และใช้ประโยชน์จากความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์เพื่อหลอกล่อเหยื่อ