Blog Details

  • Home
  • วิธีสร้างการแคมเปญจำลอง Phishing
admin March 26, 2022 0 Comments

วิธีสร้างโปรแกรมสร้างความตระหนักด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ที่แข็งแกร่งในปี 2022

วิธีสร้างการแคมเปญจำลอง Phishing ที่ประสบความสำเร็จ

 

ภัยคุกคามแบบ Phising นั้นมีอยู่ทุกที่ และหากพนักงานในองค์กรของคุณไม่ทราบวิธีจัดการหรือการตรวจจับ นั่นจะเป็นสาเหตุสำคัญที่จำทำให้ข้อมูลองค์กรตกอยู่ในความเสี่ยง ซึ่งวิธีการเรียนรู้จาก Phishing นั้น จะทำให้เห็นว่าพนักงานสามารถตรวจจับภัยคุกคาม Phishing  ได้มากน้อยเพื่ยงใด โดยผลจากวิจัย พบว่าพนักงานชาวอเมริกันมากกว่า 25% ตกเป็นเหยื่อของภัยคุกคามนี้

การจำลองฟิชชิ่งคืออะไรและมีลักษณะทำงานอย่างไร?

การจำลองฟิชชิ่ง เป็นการทดสอบอย่างหนึ่งที่คุณจะต้องส่งอีเมลให้แก่ผู้ใช้งานหรือพนักงานของคุณ เพื่อพยายามหลอกลวงให้ผู้งานให้คลิกลิงก์ปลอมหรือไฟล์แนบนั้น และหากพนักงานคลิกลิงก์,ไฟล์แนบ หรือกรอกรายละเอียดลงในแบบฟอร์มของเว็บปลอม พวกเขาก็จะ ติดมัลแวร์ของคุณ และเมื่อคุณเลือกใช้วิธีการจำลอง Phishing คุณควรกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนและแจ้งเรื่องนี้แก่พนักงานคนอื่นที่ไม่ได้เข้าร่วมการทดสอบ โดยการทดสอบครั้งแรกควรเป็นการเปรียบเทียบการรับรู้ด้านความปลอดภัยของพนักงานหรือผู้ใช้กับองค์กรอื่นๆ 

 

วิธีสร้างแคมเปญจำลอง Phishing ที่ประสบความสำเร็จมี 2 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 กำหนดวัตถุประสงค์ของการจำลอง Phishing ซึ่งจะต้องกำหนดเป้าหมายพนักงานหรือผู้ใช้อย่างชัดเจนในการทดสอบการรับรู้ด้านความปลอดภัย โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการดังนี้

  • ใช้ลิงก์ที่เป็นอันตรายเพื่อทดสอบว่าผู้ใช้มีความเสี่ยงที่จะถูกหลอกให้คลิกลิงก์ที่เป็นอันตรายหรือไม่ โดยมีการปรับใช้มัลแวร์ในอุปกรณ์ของตน หรือมอบข้อมูลรับรองการเข้าสู่ระบบให้ผู้อื่น
  • ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านแบบฟอร์มบนเว็บจะทำให้เราเห็นว่าผู้ใช้มีแนวโน้มที่จะแชร์ข้อมูลละเอียดอ่อนและข้อมูลประจำตัวในการเข้าสู่ระบบหรือไม่
  • ใช้ไฟล์แนบที่ติดไวรัสเพราะอาชญากรทางไซเบอร์มักจะฝังไวรัสในไฟล์เพื่อติดอุปกรณ์ของผู้รับ ดังนั้นการส่ง ‘ไฟล์แนบที่ติดไวรัส’ ปลอมไปยังผู้ใช้จึงทดสอบความปลอดภัยของอุปกรณ์ได้

ขั้นตอนที่ 2 หลังจากเลือกวัตถุประสงค์แล้วก็จะต้องเลือกสถานการณ์จำลอง Phishing ที่จะใช้ทดสอบ ซึ่งมี 3  วิธีหลักในการสร้างสถานการณ์ดังนี้

  1. ปลอมแปลงหน่วยงานภายในหรือภายนอกองค์กร
  2. ปลอมแปลงหน่วยงานหรือองค์กรที่มีชื่อเสียงและถูกต้องตามกฎหมายหรือองค์กรที่สมมติขึ้นมา (แต่ควรเป็นองค์กรที่มีชื่อเสียงมากกว่าเพราะเป็นสิ่งที่สแกรมเมอร์ใช้จริงเป็นประจำ)
  3. จำลองสถานการณ์ที่พร้อมใช้งานทันที (สถานการณ์สำเร็จรูป) หรือมีการปรับแต่งขึ้นเองตั้งแต่ต้น (แต่ขอแนะนำให้ใช้สถานการณ์สำเร็จรูป เนื่องจากได้รับการออกแบบมาในสถานการณ์จริง)

 

การดำเนินการต่อหลังจากการจำลอง Phishing เสร็จสมบูรณ์

หลังจากคุณทำการจำลองเสร็จสิ้น คุณจะเห็นจำนวนผู้ใช้ที่คลิกลิงก์อันตราย, ไฟล์แนบ และแบบฟอร์มข้อมูล โดยทั่วไป อัตราของการ Phishing ควรน้อยกว่า 5% สำหรับการคลิกลิงก์ และน้อยกว่า 1% สำหรับพนักงานที่ใช้ชื่อบัญชีและรหัสผ่านร่วมกันโดยปกติจะใช้การจำลอง Phishing 4 หรือ 5 ครั้ง นอกจากนั้นคุณจะต้องการวิเคราะห์ข้อมูลที่คุณรวบรวมมาเพื่อระบุช่องว่างและปัญหาในการรับรู้ด้านความปลอดภัยของพนักงาน และกำหนดหัวข้อที่จะนำมาจัดลำดับความสำคัญในออกแบบการฝึกอบรมต่อไป

หัวข้อที่คุณสามารถตรวจสอบได้ ได้แก่ :

 

  • ความปลอดภัยทางอีเมล
  • Social engineering
  • Phishing
  • ซอฟท์แวร์ที่เป็นอันตราย
  • การขโมยข้อมูล
  • การใช้อินเตอร์เน็ต
  • Ransomware
  • อีเมลทางธุรกิจ
  • รหัสผ่าน

ตามหลักการทั่วไป องค์กรทำการจำลอง Phishing 6-10 ครั้งต่อผู้ใช้ต่อปี และกรอบเวลาที่เหมาะสมที่สุดคือระหว่าง 40-60 วัน นอกจากนี้คุณต้องให้ความรู้กับพนักงานหรือผู้ใช้เกี่ยวกับเทคนิคการโจมตีของผู้ไม่หวังดีเพื่อลดโอกาสที่ข้อมูลรั่วไหลของข้อมูล

Albatross มีทีมผู้เชี่ยวชาญ หรือที่ปรึกษา ที่พร้อมจะให้บริการสร้างความตระหนักแบบครบวงจร เช่น วางแผนการรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ ฝึกอบรมสร้างความตระหนักด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ จำลองการโจมตีในรูปแบบต่างๆ เช่น Email Phishing  เป็นต้น